Sunday, 28 April 2024
อาจารย์ กมลวรรณ รอดหริ่ง

ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด!! ด้วย “CBDC” สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง

จากกระแสในโลกคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือสกุลเงินดิจิทัล ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้ประกอบการในภาคธุรกิจอย่างแพร่หลาย และในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบ โดย Disrupt ให้เกิดการปรับตัวอย่างรุนแรงทั้งภาคการเงิน การธนาคาร และการลงทุน โดยสกุลเงินดิจิทัลในปัจจุบันที่มีมากกว่า 1,500 ชนิด พบว่า 5 สกุลเงินที่มีมูลค่าตลาด (Market Cap) สูงสุด ประกอบด้วย Bitcoin , Ethereum , Ripple , Bitcoin Cash และ Litecoin 

แต่อย่างไรก็ตามในหลายประเทศทั่วโลกและในประเทศไทยสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวยังถูกจัดประเภทเป็นเพียงสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ต้องซื้อขายแลกเปลี่ยนผ่านหน่วยงานที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความอ่อนไหวสูง และราคามีความผันผวนสูงมาก 

ดังนั้น ธนาคารกลางทั่วโลกและในประเทศไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จึงทำการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่จัดประเภทเทียบเท่ากับเงินสด มีคุณสมบัติในการเป็นสื่อกลางเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการได้ตามกฎหมาย สามารถรักษามูลค่า และเป็นหน่วยวัดทางบัญชีได้ เพื่อยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ

Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ หรือบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะเป็นตัวแทนของเงินได้จริง ๆ มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 
(1.) ป้องกันการผูกขาดและลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงินจากภาคเอกชนภายใต้แนวโน้มของสังคมไร้เงินสดที่เพิ่มมากขึ้น 
(2.) ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงิน 
(3.) เพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับภาคประชาชน ที่ธนาคารกลางสามารถกำหนดรูปแบบของ CBDC ได้อย่างเหมาะสม  

เหล่าผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ให้ความสำคัญในหลักการจัดเก็บและสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับธุรกิจของคุณโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว !

ความเข้าใจในหลักการจัดเก็บและสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ควรให้ความสำคัญ เพราะไม่เพียงแต่กิจการจะสามารถจัดการเพื่อชำระภาษีภายในกำหนดเวลาอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามกฏหมายแล้วเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปสู่ภาระภาษีที่มีจำนวนน้อยที่สุด โดยไม่ใช่การหลีกเลี่ยง ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาภาษีอากร และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ธุรกิจมีความยั่งยืนได้

รูปแบบของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) จำแนกได้ทั้งในรูปของนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด) และ บุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ) ดังนั้นภาระภาษีที่เกี่ยวข้องจึงเป็นไปตามรูปแบบของ SMEs ที่ผู้ประกอบการเลือก 

อย่างไรก็ตามในปีภาษี 2563 หากเปรียบเทียบระหว่างอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบว่า SMEs ที่เป็นนิติบุคคล มีอัตราภาษีสูงสุดที่ต้องจ่าย ต่ำกว่า SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา ถึง 15% (นิติบุคคล 20% บุคคลธรรมดา 35% ) 

โดยในช่วงกำไรสุทธิ 300,000 บาท แรกของ SMEs นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนในกรณีที่มีผลขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี และสามารถนำผลขาดทุนสุทธิ 5 ปีย้อนหลังมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 

นอกจากนี้กรมสรรพากรยังมีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจ SMEs นิติบุคคล โดยให้สิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้ 

1.) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง

2.) รายจ่ายจากการจ้างเงินผู้สูงอายุ รายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รายจ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รายจ่ายค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC รายจ่ายเพื่อส่งเสริมการเนินธุรกิจของ SMEs หักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 

3.) รายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่า 

4.) SMEs รายใหม่ (New Start-Up) ที่จดทะเบียนจัดตั้งในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชี 

นอกจากนี้กรมสรรพากรกำหนดมาตรการดูแล SMEs นิติบุคคล จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ในปีภาษี 2563 ได้แก่

1.) ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ช่วงเมษายน ถึง ธันวาคม 2563 นำมาเป็นรายจ่ายเพิ่มได้ 1.5 เท่า

2.) รายจ่ายค่าจ้างพนักงานตั้งแต่มกราคม ถึง กรกฏาคม 2563 นำมาหักรายจ่ายได้ 3 เท่า 

3.) เงินบริจาคหรือสินทรัพย์ช่วย COVID-19 หักเป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ ตั้งแต่ 5 มีนาคม 2563 ถึง 5 มีนาคม 2564 

4.) รายจ่ายในการต่อเติม ปรับปรุงทรัพย์สินของกิจการโรงแรม นำมาเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 

5.) การอบรมสัมมนาในประเทศ นำมาเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 

6) ลดอัตราภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการที่มีรายได้จากค่าจ้างทำของ ค่าบริการ ค่านายหน้า ค่าวิชาชีพอิสระ ลดเหลือ 1.5% ในช่วงเมษายน ถึง กันยายน 2563 และ ลดเหลือ 2% ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2564

และในปีภาษี 2564 กรมสรรพากรได้ปรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุน SMEs สู่ความปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ในยุคดิจิทัล โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า สำหรับค่าซื้อหรือจ้างทำ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ (Software) ที่จ่ายให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำหรือผู้ให้บริการ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 อีกด้วย

จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ SMEs นิติบุคคล ดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดใหญ่ พิจารณาเลือกจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล เพื่อให้ได้เปรียบมากกว่าในรูปแบบของบุคคลธรรมดา 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อบันทึกรายรับรายจ่ายของกิจการ รวมถึงการเก็บใบเสร็จหรือใบสำคัญต่าง ๆ ไว้ให้ครบถ้วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการแสดงรายการต่างๆ ของธุรกิจ และคำนวณภาษีตามฐานกำไรสุทธิของกิจการต่อไป

.

เขียนโดย : อาจารย์ กมลวรรณ รอดหริ่ง อาจารย์ประจำสาขาการเงิน คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา


ข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์สรรพากร https://www.rd.go.th/47331.html

เหลือ​ 1​ ล้าน!! บทสรุป​ 'มาตรการปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก'​ สะท้อนสุขภาพการเงินสถาบันไทย...ยังดีจริงหรือ?

ตามที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ประกาศปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ในกรณีที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินล้มละลาย ปิดกิจการ หรือโดนเพิกถอนใบอนุญาต จากเดิมวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ลงมาอยู่ที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน นับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไปนั้น เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกาจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์ของ The International Association of Deposit Insurers (IADI) 

ทั้งนี้เพื่อให้วงเงินคุ้มครองเงินฝากสอดคล้องกับหลักการของระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิผล รักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ช่วยให้ทั้งผู้ฝากเงินและสถาบันการเงินไม่ละเลยต่อการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดภาระงบประมาณของภาครัฐไม่ให้สูงเกินจำเป็น ทำให้ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณไปสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้

นอกจากนี้การปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากดังกล่าวยังคงคุ้มครองผู้ฝากเงินถึงร้อยละ 98 ของผู้ฝากเงินทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินในปัจจุบันที่สูงกว่าในอดีต ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงทำให้ผู้ฝากเงินสามารถมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงินได้ แม้ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม

มาตรการกำกับดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ของ ธปท. นั้น ได้กำหนดกฎเกณฑ์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยง มีความระมัดระวัง ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เงินฝากของประชาชน ตลอดจนมีเกณฑ์กำกับด้านธรรมาภิบาลของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและผู้ฝากเงิน 

ทั้งนี้การกำกับดูแลของ ธปท. เป็นไปตามแนวทางการกำกับตรวจสอบความเสี่ยง (Risk based Supervision) โดยในส่วนของการกำกับดูแลด้านความเพียงพอของเงินกองทุน สถาบันการเงินจะถูกประเมินด้วยอัตราส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ที่คำนึงถึงความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ทั้งนี้กำหนดให้ค่า BIS ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 8.5% ซึ่งปัจจุบันพบว่า ค่า BIS ของสถาบันการเงินมีค่าร้อยละ 20 ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ธปท. ยังได้กำหนดให้มีมาตรการ PPA (Prompt Prevention Action) เพื่อป้องกันก่อนสถาบันการเงินจะมีฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (ต่ำกว่า 8.5%) และมาตรการ PCA (Prompt Corrective Action) เพื่อแก้ไข ผ่านการเสนอแผนเข้าควบคุมกิจการ (ต่ำกว่า 5.1%) และสั่งปิดกิจการ (ต่ำกว่า 2.97%) อีกด้วย 

อย่างไรก็ตามผู้ฝากเงินสามารถศึกษาความมั่นคงของสถาบันการเงินได้มากขึ้น ผ่านแนวทางการประเมินใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 
1.) ฐานะและกำไรจากการทำธุรกิจ 
2.) เงินทุนของสถาบันการเงินที่แข็งแกร่ง 
3.) คุณภาพของสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดี 
4.) มีสภาพคล่องเพียงพอ และ 
5.) อันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน (Rating) 

นอกจากนี้ ธปท. กำหนดให้มีศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ดูแลประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงิน ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้บริการทางการเงินได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างอิสระ มีช่องทางร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และได้รับการพิจารณาค่าชดเชยกรณีได้รับความเสียหาย ผ่านสายด่วน 1213 หรือ www.1213.or.th 

ขอบคุณข้อมูลจาก 
ข่าว ธปท. ​ฉบับที่  58/2564 
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n5864.aspx
การกำกับดูแลสถาบันการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย 
https://www.1213.or.th › aboutfcc › Documents
การคุ้มครองเงินฝาก การกำกับดูแลสถาบันการเงิน - สำนักงานเศรษฐกิจ 
http://www.fpo.go.th › CNT0014403-1.pdf.aspx


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

การลงทุนในทองคำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ที่นักลงทุนเลือกเพื่อเก็งกำไร

การจัดสรรเงินออมในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อนำไปลงทุนเพิ่มค่าของเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้นั้น ถือเป็นหนึ่งในแนวทางการสร้างความมั่นคงทางการเงินส่วนบุคคลที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบให้การลงทุนในหลายรูปแบบมีความผันผวน ดังนั้นนักลงทุนจึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงลักษณะ ผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุน ก่อนตัดสินใจนำเงินไปลงทุนในทางเลือกนั้น ๆ

โดยในบทความนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง “การลงทุนในทองคำ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวที่นักลงทุนเลือกเพื่อเก็งกำไร เนื่องจาก ทองคำมักมีมูลค่าเพิ่มในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อีกทั้งทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าและไม่เสื่อมสภาพ สามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็วโดยที่ไม่กระทบต่อมูลค่ามากนัก ตลอดจนนักลงทุนหลายคนนิยมใช้ทองคำเป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนรวมอีกด้วย

การลงทุนในทองคำแบบดั้งเดิม คือการลงทุนซื้อ “ทองคำแท่ง หรือ ทองรูปพรรณ” ผ่านหน้าร้านตามราคาที่ทางร้านประกาศไว้ โดยอ้างอิงจากราคากลางของสมาคมค้าทองคำ น้ำหนักทองคำ 1 ออนซ์ ซึ่งเป็นหน่วยวัดในระดับสากล จะเท่ากับทองคำประมาณ 2 บาทตามหน่วยวัดของไทย ทั้งนี้ในการซื้อขายทองคำในตลาดสากลนิยมทองคำบริสุทธิ์ 99.9% ในขณะที่การซื้อขายทองคำในตลาดไทยเป็นไปตามมาตรฐานที่ 96.5% โดยนักลงทุนทองคำเพื่อเก็งกำไรมักเลือกลงทุนในทองคำแท่ง ที่มีค่าบล็อคเล็กน้อย ไม่มีค่ากำเหน็จ และเวลาขายคืนจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทองรูปพรรณ

ทั้งนี้นักลงทุนจะสามารถทำกำไรจาการลงทุนในทองคำด้วยการดูราคาทองคำในตลาดปัจจุบันและคาดคะเนความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งโดยปกตินักลงทุนมักจะเทขายเมื่อราคาทองคำสูงขึ้น 2-5% จากราคาต้นทุน อย่างไรก็ดีปัจจุบันการลงทุนในทองคำแท่งและทองรูปพรรณยังสามารถซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ และแพลตฟอร์มออนไลน์

อาทิเช่น
วายแอลจี พรีเชียส บนเว็บไซต์ https://www.ylgprecious.co.th
ฮั่วเซ่งเฮง บนเว็บไซต์ https://www.huasengheng.com/buy-sell-online
แม่ทองสุก บนเว็บไซต์ http://trade.mtsgold.co.th/goldonline
App บนมือถือ “HSHtrade” เป็นต้น

สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่มีเงินทุนน้อย อาจเลือกลงทุนในทองคำผ่านรูปแบบการ “ออมทอง” โดยนักลงทุนจะเปิดบัญชีกับบริษัทที่ให้บริการ จากนั้นจึงทยอยจ่ายเงินลงทุนซื้อทองทุกเดือน โดยมียอดขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท เสมือนการทยอยซื้อทองน้ำหนัก 5 - 10 สตางค์ ทุกเดือนไปเรื่อย ๆ จนครบน้ำหนักทอง 1 บาท

นักลงทุนก็สามารถไปขอรับเป็นทองจริงได้จากบริษัทที่เลือกลงทุน อาทิเช่น ฮั่วเซ่งเฮง, ออสสิริส, โกลเบล็ก, จีแคป, Hello Gold เป็นต้น ทั้งนี้การออมทองจะเป็นการถัวเฉลี่ยซื้อในแต่ละเดือน ทำให้ราคาทองที่ลงทุนจึงเป็นค่าเฉลี่ยของการซื้อในแต่ละครั้งของช่วงเวลาที่มีการออม ดังนั้นนักลงทุนจึงควรพิจารณาความผันผวนของราคาทองที่เป็นไปตามราคาตลาดโลกควบคู่ประกอบการตัดสินใจออมทองไปด้วย

ทางเลือกการลงทุนในทองคำรูปแบบถัดไป เป็นการลงทุนที่ไม่มีการถือทองคำจริง เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ได้แก่ การลงทุนทองคำผ่าน ”กองทุนรวม” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนนำเงินไปลงทุนในทองคำให้กับนักลงทุน โดยแต่ละกองทุนจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเรื่องการลงทุน วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ และความผันผวนของราคาของคำที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ จะมีค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นค่าใช้จ่ายของนักลงทุน การลงทุนทองคำผ่านกองทุนรวมนี้ นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปของเงินปันผล และกำไรจากส่วนต่างในมูลค่าหน่วยลงทุน (Capital Gain)

สำหรับทางเลือกการลงทุนในทองคำที่มีความซับซ้อนขึ้น สามารถเก็งกำไรทองได้ ทั้งในภาวะขาขึ้นและขาลง ทำให้มีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มีความเสี่ยงจากการลงทุนที่สูงเช่นกัน ได้แก่ การลงทุนในทองคำผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ “การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส” ที่อ้างอิงราคาทองคำแท่งที่ผู้ลงทุนคาดการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สไว้ก่อน เมื่อคาดว่าทองจะขึ้นในอนาคต และทำกำไรเท่ากับส่วนต่างของราคาซื้อและขาย เมื่อราคาทองคำในอนาคตนั้นปรับตัวขึ้นจริง ในขณะที่ผู้ลงทุนจะขายโกลด์ฟิวเจอร์สล่วงหน้า เมื่อคาดว่าราคาทองจะปรับตัวลดลง การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สนี้จะเป็นการซื้อขายโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) หรือ TFEX มีบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ประกันการชำระราคา และมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้กำกับดูแลการซื้อขาย

และทางเลือกลงทุนในทองคำรูปแบบใหม่ล่าสุด ได้แก่ “โทเคนทองคำ” ที่ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายทองคำดิจิทัลได้เสมือนกับได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในทองคำแท่ง ผ่านเหรียญ xBullion (GOLD), UPXAU, และ GoldGo โดยมีการ Backup ทองคำจริงเอาไว้ และใช้เทคโนโลยี blockchain และรหัสทองคำ เพื่อรักษาความปลอดภัยของการซื้อขายของนักลงทุนแต่ละราย เพิ่มภาพคล่อง และสามารถโอนรายการระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว

จากรูปแบบการลงทุนทั้งหมดที่ผู้เขียนได้กล่าวถึง ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุนในทองคำที่นักลงทุนควรคำนึงถึงได้แก่ นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน ตลอดจน Demand supply หรือความต้องการซื้อขายทองคำในตลาด เป็นต้น

เขียนโดย อาจารย์ กมลวรรณ รอดหริ่ง อาจารย์ประจำสาขาการเงิน คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.tfex.co.th/th/education/files/2011-09-GF-Th.pdf

ทำความรู้จัก “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน : Infrastructure Fund” เพื่อวางกลยุทธ์การลงทุนในช่วงวิกฤต

แม้ในช่วงวิกฤติจะส่งผลให้การลงทุนเกิดความผันผวนอย่างมาก ทั้งต่อระดับความเสี่ยงจากการลงทุน และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับก็ตาม แต่หากนักลงทุนวางกลยุทธ์การลงทุนโดยเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม ก็จะช่วยพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำทั่วโลก การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund :IFF) เป็นทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนในระดับที่สูงกว่าตราสารหนี้ และมีความผันผวนในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้น เนื่องจากจุดเด่นของอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่มีอุปสงค์ยืดหยุ่นต่ำ ไม่ผันแปรตามสภาวะเศรษฐกิจ เพราะเป็นสินค้าและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อีกทั้งเป็นธุรกิจที่มี Barrier of Entry สูง (เป็นเจ้าตลาด หรือ ธุรกิจผูกขาด) จึงทำให้มีคู่แข่งขันเข้ามายาก ตลอดจนความสามารถในการขึ้นราคาเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นหรือในภาวะเงินเฟ้อได้อีกด้วย

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ภาครัฐและเอกชนใช้ในการระดมทุนจากผู้ลงทุนทั่วไปทั้งรายย่อยและสถาบัน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างของประเทศ 10 ประเภท ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางราง, ประปา, ไฟฟ้า, ถนน, สนามบิน, ท่าเรือน้ำลึก, โทรคมนาคม, พลังงานทางเลือก, ระบบบริหารจัดการน้ำหรือชลประทาน และระบบป้องกันภัยธรรมชาติ โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล และกำไรจากส่วนต่างราคา นอกจากนี้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดายังได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้เงินปันผลดังกล่าวเป็นระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่

1.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ TFFIF
2.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี หรือ SUPEREIF
3.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ EGATIF
4.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท หรือ BTSGIF
5.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF
6.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF
7.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ หรือ ABPIF และ
8.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ หรือ BRRGIF

นักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ
1.) การซื้อหุ้น IPO ที่ทำการเสนอขายครั้งแรก ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่บริหารจัดการจัดการกองทุนนั้น รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ หรือโบรกเกอร์ที่เป็นผู้จัดจำหน่าย และ

2.) ภายหลังจากหมดช่วง IPO แล้ว กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานก็จะถูกนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และซื้อขายเช่นเดียวกับหุ้นทั่วไปบนกระดานหุ้น ดังนั้นผู้ลงทุนจึงต้องเปิดบัญชีและทำการซื้อขายหุ้นโครงสร้างพื้นฐานผ่านโบรกเกอร์ได้

เขียนโดย อาจารย์ กมลวรรณ รอดหริ่ง อาจารย์ประจำสาขาการเงิน คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.set.or.th/th/products/listing2/set_iff_p1.html
https://www.finnomena.com/finnomena-ic/scbgif/

เปิดมุมมองการลงทุนอย่างยั่งยืน ในโลก ‘การเงินสีเขียว’

ในมุมมองของนักลงทุนรุ่นใหม่ที่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจลงทุนและการพิจารณาผลตอบแทนที่ต้องการจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในรูปของตัวเงินและความมั่งคั่งสูงสุดเท่านั้น หากแต่มีวัตถุประสงค์ของการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวและสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ด้วยการลงทุนตามแนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainable Investment) ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ หุ้นกู้สีเขียว หรือ กรีนบอนด์ (Green Bond) 

ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นตราสารทางการเงินที่มุ่งเน้นระดมเงินทุนเพื่อใช้ในโครงการที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้การส่งเสริมจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 

(1) ลดและแก้ไขปัญหามลภาวะ 

(2) ส่งเสริมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 

(3) ลดและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 

โดยมีมาตรฐานตราสารหนี้ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.0 (Climate Bond Standard) เพื่อรับรองว่าตราสารหนี้จะให้เงินทุนสำหรับโครงการที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกันโดยสมบูรณ์กับหลักการตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond Principles)

ประเภทของกรีนบอนด์ ประกอบด้วย 

1.) Standard Green Bond ได้แก่ Green Bond ที่มุ่งตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ออกตราสารหนี้ชําระหนี้และจ่ายผลตอบแทนตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกัน

2.) Green Revenue Bond ได้แก่ Green Bond ที่มีกระแสเงินสดเป็นหลักประกันการชําระหนี้ เช่น รายได้ ค่าธรรมเนียม ภาษีจากโครงการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เงินที่จะได้รับจากการออกตราสารหนี้ลักษณะนี้จะนําไปใช้ในโครงการที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดนั้นเองหรือโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นด้วยก็ได้

3.) Green Project Bond ได้แก่ Green Bond ที่ออกเพื่อระดมทุนให้แก่โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะโครงการเดียวหรือหลายโครงการซึ่งผู้ลงทุนเป็นผู้รับความเสี่ยงโดยตรงในผลสำเร็จของโครงการนั้น

4.) Green Securitized Bond ได้แก่ Green Bond ที่มีการนําโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมโครงการเดียว หรือหลายโครงการมาเป็นหลักประกัน เช่น Covered Bonds Asset-Backed Securities และ Mortgage-Backed Securities โดยการออกตราสารหนี้ดังกล่าวนั้นต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่มุ่งตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมด้วย

ตลาดกรีนบอนด์ในไทยในปีนับจากปี 2562 มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยที่ผ่านบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสบความสำเร็จจากการจำหน่ายกรีนบอนด์ อาทิเช่น 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ออกและเสนอขายกรีนบอนด์ อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี มูลค่า 2,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงการเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน เพื่อดูแลป่าในระยะยาว และศูนย์เรียนรู้ของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. 

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ออกและเสนอขายกรีนบอนด์ ชนิดไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน มูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายรวม 5,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปใช้ในพัฒนาโครงการไฟฟ้าสะอาดสู่ความยั่งยืน ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และโครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร (Waste-to-Energy) 

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกและเสนอขายกรีนบอนด์ 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไป ใช้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนด้วยพลังงานไฟฟ้า ลดการใช้รถยนต์ และจะช่วยลดการปล่อยมลภาวะในเขตกรุงเทพมหานคร

โดยการประเมินผลตอบแทนในกรีนบอนด์ จะคำนึงถึง “Greenium” (การผสมคำระหว่าง Green และ Premium) หรือผลต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) กับตราสารหนี้ทั่วไป (Conventional Bond) ทั้งนี้ผลจากศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามีทั้งในกรณีที่ที่สูงกว่า และ ต่ำกว่า) ตราสารหนี้ทั่วไป


ข้อมูลอ้างอิง 

https://www.setsustainability.com/page/sustainable-investment

http://www.pddf.or.th/upload/article/file_200921095754.pdf


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รู้เพื่อตั้งรับ!! 5+1 รูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังวิกฤติโควิด-19

มาตรการเร่งกระจายวัคซีนโควิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศขณะนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์จากหลายฝ่ายถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยที่จะกลับสู่ระดับเดิมเช่นก่อนเกิดวิกฤติ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประสิทธิภาพของนโยบายการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิดแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ นโยบายการเงิน การคลัง ที่ผ่อนปรนต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำไปสู่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจ และกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ตลอดจนการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้แนวโน้มการฟื้นตัวยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และคาดเดาได้ยาก 

อย่างไรก็ตาม ตามหลักเศรษฐศาสตร์ได้อธิบายถึง 5 รูปแบบ ของการฟื้นตัวหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่  V, U, W, Swoosh และ L-Shape ที่กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในขณะนี้ 

ที่มา ห้องเรียนนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7516&type=article)

1.) การฟื้นตัวแบบ V-Shape (V-Shape Rebound) “ลงเร็ว ฟื้นเร็ว”
เป็นรูปแบบที่ถูกคาดหวังอยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด คือ เมื่อประเทศผ่านวิกฤติซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดไปแล้ว เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับสู่ระดับเดิมได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยังอาจไม่กลับมาฟื้นตัวในปีนี้ ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในลักษณะนี้มีความเป็นไปได้ยาก

2.) การฟื้นตัวแบบ U-Shape (U-Shape Rebound) “หดตัวนาน ฟื้นตัวช้า”
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจเป็นไปได้สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีรูปแบบคล้ายกับ V-Shape แต่แตกต่างตรงระยะเวลาของผลกระทบที่อาจนานกว่า ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า ก่อนที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ระดับเดิม ทั้งนี้การออกนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงระยะเวลาที่เศรษฐกิจไทยจะสามารถผ่านพ้นช่วงฐานตัว U ไปได้ช้าเร็วเพียงใด

3.) การฟื้นตัวแบบ W-Shape (W-Shape Rebound) “ฟื้นเร็ว ดิ่งลงรอบสอง”
จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด หากเกิดการระบาดในระลอกใหม่อย่างรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และรัฐบาลเลือกใช้มาตรการล็อกดาวน์ ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีรูปแบบ “ดับเบิ้ล ดิป” ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหรือจุดที่ต่ำที่สุดอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น มาตรการผ่อนปรนที่ถูกใช้ในเวลาหรือสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวในรูปนี้ก็เป็นได้

4.) การฟื้นตัวแบบ Swoosh (Swoosh Rebound) “ไถลลงเร็ว ค่อยๆ ฟื้นตัว” หรือ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามแบบ “รูปเครื่องหมายไนกี้”
เป็นการไถลลงเร็วแบบตัว V และค่อยๆ ฟื้นตัว โดยการฟื้นตัวของนี้จะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายถูกหางยาว ที่แสดงถึงการเติบโตอย่างเชื่องช้า แต่สุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้ก็ไปในแนวโน้มที่ดีและพุ่งขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามการผ่อนปรนมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้การค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศในช่วงแรกยังคงทำได้อย่างจำกัด

5.) การฟื้นตัวแบบ L-Shape (L-Shape Rebound) “หดตัวยาวนาน ไร้สัญญาณการฟื้นตัว” 
เป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ที่เมื่อเศรษฐกิจปรับลดลงแล้ว อัตราการขยายตัวจะไม่สามารถกระตุ้นให้กลับมาเป็นปกติเท่ากับระดับก่อนหน้าเกิดวิกฤติได้ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจซบเซาต่อเนื่องยาวนาน และไม่รู้ว่าจะกลับมาอยู่ในระดับเดิมได้หรือไม่ ดังเช่น วิกฤติโลก Great Depression ที่ใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการฟื้นตัว ซึ่งการฟื้นตัวในรูปแบบนี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ และเกิดภาวะถดถอยในระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง 

นอกจากนี้ มีการกล่าวถึงรูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งเพิ่มเติม คือ รูปแบบ K-Shaped หรือ ตัวอักษร K ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกลับสู่ระดับเดิมได้และขยายตัวต่อเนื่องในบางกลุ่ม (แทนหางของตัว K ที่ชี้ขึ้นไปข้างบน) ขณะเดียวกันสำหรับบางกลุ่มอาจยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ และยังคงเผชิญกับภาวะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ (แทนหางของตัว K ที่ชี้ลงมาด้านล่าง)

ที่มา : บทความการฟื้นตัวแบบรูปตัว K ของเศรษฐกิจไทย: ในวิกฤตยังมีโอกาส ธนาคารแห่งประเทศไทย (https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_31May2021.aspx)

อย่างไรก็ตาม แสงสว่างปลายอุโมงที่อาจเริ่มมองเห็นได้ในขณะนี้ คงเป็นความหวังของทุกคนที่จะร่วมใจผ่านพ้นวิกฤติโควิดของประเทศในครั้งนี้ไปด้วยกัน

เขียนโดย อาจารย์ กมลวรรณ รอดหริ่ง อาจารย์ประจำสาขาการเงิน คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7516&type=article
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_31May2021.aspx
https://www.prachachat.net/public-relations/news-521654
https://www.terrabkk.com/news/198705/

รู้เพื่อตั้งรับ 5+1 รูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด

มาตรการเร่งกระจายวัคซีนโควิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศขณะนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์จากหลายฝ่ายถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยที่จะกลับสู่ระดับเดิมเช่นก่อนเกิดวิกฤติ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประสิทธิภาพของนโยบายการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิดแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ นโยบายการเงิน การคลัง ที่ผ่อนปรนต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำไปสู่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจ และกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ตลอดจนการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้แนวโน้มการฟื้นตัวยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และคาดเดาได้ยาก 

อย่างไรก็ตาม ตามหลักเศรษฐศาสตร์ได้อธิบายถึง 5 รูปแบบ ของการฟื้นตัวหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่  V, U, W, Swoosh และ L-Shape ที่กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในขณะนี้ 

ที่มา ห้องเรียนนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7516&type=article)

1.) การฟื้นตัวแบบ V-Shape (V-Shape Rebound) “ลงเร็ว ฟื้นเร็ว”

เป็นรูปแบบที่ถูกคาดหวังอยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด คือ เมื่อประเทศผ่านวิกฤติซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดไปแล้ว เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับสู่ระดับเดิมได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยังอาจไม่กลับมาฟื้นตัวในปีนี้ ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในลักษณะนี้มีความเป็นไปได้ยาก

2.) การฟื้นตัวแบบ U-Shape (U-Shape Rebound) “หดตัวนาน ฟื้นตัวช้า”

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจเป็นไปได้สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีรูปแบบคล้ายกับ V-Shape แต่แตกต่างตรงระยะเวลาของผลกระทบที่อาจนานกว่า ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า ก่อนที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ระดับเดิม ทั้งนี้การออกนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงระยะเวลาที่เศรษฐกิจไทยจะสามารถผ่านพ้นช่วงฐานตัว U ไปได้ช้าเร็วเพียงใด

3.) การฟื้นตัวแบบ W-Shape (W-Shape Rebound) “ฟื้นเร็ว ดิ่งลงรอบสอง”

จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด หากเกิดการระบาดในระลอกใหม่อย่างรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และรัฐบาลเลือกใช้มาตรการล็อกดาวน์ ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีรูปแบบ “ดับเบิ้ล ดิป” ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหรือจุดที่ต่ำที่สุดอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น มาตรการผ่อนปรนที่ถูกใช้ในเวลาหรือสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวในรูปนี้ก็เป็นได้

4.) การฟื้นตัวแบบ Swoosh (Swoosh Rebound) “ไถลลงเร็ว ค่อยๆ ฟื้นตัว” หรือ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามแบบ “รูปเครื่องหมายไนกี้”

เป็นการไถลลงเร็วแบบตัว V และค่อยๆ ฟื้นตัว โดยการฟื้นตัวของนี้จะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายถูกหางยาว ที่แสดงถึงการเติบโตอย่างเชื่องช้า แต่สุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้ก็ไปในแนวโน้มที่ดีและพุ่งขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามการผ่อนปรนมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้การค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศในช่วงแรกยังคงทำได้อย่างจำกัด

5.) การฟื้นตัวแบบ L-Shape (L-Shape Rebound) “หดตัวยาวนาน ไร้สัญญาณการฟื้นตัว” 

เป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ที่เมื่อเศรษฐกิจปรับลดลงแล้ว อัตราการขยายตัวจะไม่สามารถกระตุ้นให้กลับมาเป็นปกติเท่ากับระดับก่อนหน้าเกิดวิกฤติได้ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจซบเซาต่อเนื่องยาวนาน และไม่รู้ว่า่จะกลับมาอยู่ในระดับเดิมได้หรือไม่ ดังเช่น วิกฤติโลก Great Depression ที่ใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการฟื้นตัว ซึ่งการฟื้นตัวในรูปแบบนี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ และเกิดภาวะถดถอยในระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง 

นอกจากนี้ มีการกล่าวถึงรูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งเพิ่มเติม คือ รูปแบบ K-Shaped หรือ ตัวอักษร K ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกลับสู่ระดับเดิมได้และขยายตัวต่อเนื่องในบางกลุ่ม (แทนหางของตัว K ที่ชี้ขึ้นไปข้างบน) ขณะเดียวกันสำหรับบางกลุ่มอาจยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ และยังคงเผชิญกับภาวะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ (แทนหางของตัว K ที่ชี้ลงมาด้านล่าง)

ที่มา : บทความการฟื้นตัวแบบรูปตัว K ของเศรษฐกิจไทย: ในวิกฤตยังมีโอกาส ธนาคารแห่งประเทศไทย (https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_31May2021.aspx)

อย่างไรก็ตาม แสงสว่างปลายอุโมงที่อาจเริ่มมองเห็นได้ในขณะนี้ คงเป็นความหวังของทุกคนที่จะร่วมใจผ่านพ้นวิกฤติโควิดของประเทศในครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7516&type=article
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_31May2021.aspx
https://www.prachachat.net/public-relations/news-521654
https://www.terrabkk.com/news/198705/


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'ลดหย่อนภาษี' สิทธิประโยชน์ดี ๆ ที่กิจการ SMEs ควรรู้

ความเข้าใจในหลักการจัดเก็บและสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ควรให้ความสำคัญ เพราะไม่เพียงแต่กิจการจะสามารถจัดการเพื่อชำระภาษีภายในกำหนดเวลาอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามกฏหมายแล้วเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปสู่ภาระภาษีที่มีจำนวนน้อยที่สุด โดยไม่ใช่การหลีกเลี่ยง ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาภาษีอากร และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ธุรกิจมีความยั่งยืนได้

รูปแบบของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) จำแนกได้ทั้งในรูปของนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด) และ บุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ) ดังนั้นภาระภาษีที่เกี่ยวข้องจึงเป็นไปตามรูปแบบของ SMEs ที่ผู้ประกอบการเลือก 

อย่างไรก็ตามในปีภาษี 2563 หากเปรียบเทียบระหว่างอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบว่า SMEs ที่เป็นนิติบุคคล มีอัตราภาษีสูงสุดที่ต้องจ่าย ต่ำกว่า SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา ถึง 15% (นิติบุคคล 20% บุคคลธรรมดา 35% ) 

โดยในช่วงกำไรสุทธิ 300,000 บาท แรกของ SMEs นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนในกรณีที่มีผลขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี และสามารถนำผลขาดทุนสุทธิ 5 ปีย้อนหลังมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 

นอกจากนี้กรมสรรพากรยังมีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจ SMEs นิติบุคคล โดยให้สิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้ 

1.) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง

2.) รายจ่ายจากการจ้างเงินผู้สูงอายุ รายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รายจ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รายจ่ายค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC รายจ่ายเพื่อส่งเสริมการเนินธุรกิจของ SMEs หักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 

3.) รายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่า 

4.) SMEs รายใหม่ (New Start-Up) ที่จดทะเบียนจัดตั้งในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชี 

นอกจากนี้กรมสรรพากรกำหนดมาตรการดูแล SMEs นิติบุคคล จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ในปีภาษี 2563 ได้แก่

1.) ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ช่วงเมษายน ถึง ธันวาคม 2563 นำมาเป็นรายจ่ายเพิ่มได้ 1.5 เท่า

2.) รายจ่ายค่าจ้างพนักงานตั้งแต่มกราคม ถึง กรกฏาคม 2563 นำมาหักรายจ่ายได้ 3 เท่า 

3.) เงินบริจาคหรือสินทรัพย์ช่วย COVID-19 หักเป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ ตั้งแต่ 5 มีนาคม 2563 ถึง 5 มีนาคม 2564 

4.) รายจ่ายในการต่อเติม ปรับปรุงทรัพย์สินของกิจการโรงแรม นำมาเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 

5.) การอบรมสัมมนาในประเทศ นำมาเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 

6) ลดอัตราภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการที่มีรายได้จากค่าจ้างทำของ ค่าบริการ ค่านายหน้า ค่าวิชาชีพอิสระ ลดเหลือ 1.5% ในช่วงเมษายน ถึง กันยายน 2563 และ ลดเหลือ 2% ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2564

และในปีภาษี 2564 กรมสรรพากรได้ปรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุน SMEs สู่ความปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ในยุคดิจิทัล โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า สำหรับค่าซื้อหรือจ้างทำ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ (Software) ที่จ่ายให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำหรือผู้ให้บริการ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 อีกด้วย

จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ SMEs นิติบุคคล ดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดใหญ่ พิจารณาเลือกจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล เพื่อให้ได้เปรียบมากกว่าในรูปแบบของบุคคลธรรมดา 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อบันทึกรายรับรายจ่ายของกิจการ รวมถึงการเก็บใบเสร็จหรือใบสำคัญต่าง ๆ ไว้ให้ครบถ้วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการแสดงรายการต่างๆ ของธุรกิจ และคำนวณภาษีตามฐานกำไรสุทธิของกิจการต่อไป


ข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์สรรพากร https://www.rd.go.th/47331.html
 

ทำความรู้จัก “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน : Infrastructure Fund” เพื่อวางกลยุทธ์การลงทุนในช่วงวิกฤต

แม้ในช่วงวิกฤติจะส่งผลให้การลงทุนเกิดความผันผวนอย่างมาก ทั้งต่อระดับความเสี่ยงจากการลงทุน และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับก็ตาม แต่หากนักลงทุนวางกลยุทธ์การลงทุนโดยเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม ก็จะช่วยพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำทั่วโลก การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund :IFF) เป็นทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนในระดับที่สูงกว่าตราสารหนี้ และมีความผันผวนในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้น เนื่องจากจุดเด่นของอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่มีอุปสงค์ยืดหยุ่นต่ำ ไม่ผันแปรตามสภาวะเศรษฐกิจ เพราะเป็นสินค้าและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อีกทั้งเป็นธุรกิจที่มี Barrier of Entry สูง (เป็นเจ้าตลาด หรือ ธุรกิจผูกขาด) จึงทำให้มีคู่แข่งขันเข้ามายาก ตลอดจนความสามารถในการขึ้นราคาเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นหรือในภาวะเงินเฟ้อได้อีกด้วย

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ภาครัฐและเอกชนใช้ในการระดมทุนจากผู้ลงทุนทั่วไปทั้งรายย่อยและสถาบัน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างของประเทศ 10 ประเภท ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางราง, ประปา, ไฟฟ้า, ถนน, สนามบิน, ท่าเรือน้ำลึก, โทรคมนาคม, พลังงานทางเลือก, ระบบบริหารจัดการน้ำหรือชลประทาน และระบบป้องกันภัยธรรมชาติ โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล และกำไรจากส่วนต่างราคา นอกจากนี้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดายังได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้เงินปันผลดังกล่าวเป็นระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่

1.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ TFFIF

2.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี หรือ SUPEREIF

3.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ EGATIF

4.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท หรือ BTSGIF

5.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF

6.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF

7.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ หรือ ABPIF และ

8.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ หรือ BRRGIF

นักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ

1.) การซื้อหุ้น IPO ที่ทำการเสนอขายครั้งแรก ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่บริหารจัดการจัดการกองทุนนั้น รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ หรือโบรกเกอร์ที่เป็นผู้จัดจำหน่าย และ

2.) ภายหลังจากหมดช่วง IPO แล้ว กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานก็จะถูกนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และซื้อขายเช่นเดียวกับหุ้นทั่วไปบนกระดานหุ้น ดังนั้นผู้ลงทุนจึงต้องเปิดบัญชีและทำการซื้อขายหุ้นโครงสร้างพื้นฐานผ่านโบรกเกอร์ได้


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.set.or.th/th/products/listing2/set_iff_p1.html

https://www.finnomena.com/finnomena-ic/scbgif/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top